บ้านเก่าที่ปลูกสร้างมานาน มักเกิดปัญหาการแตกร้าวของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก บริเวณโคนเสาใกล้กับพื้น สาเหตุมักเกิดจากการที่ความชื้นภายในดินใต้ฐานรากเสาซึมเข้าไปในคอนกรีตฐานราก ทำให้เหล็กเสริมภายในเสาคอนกรีตเกิดสนิม และสนิมดันคอนกรีตและปูนฉาบหุ้มเหล็กเสริมนั้นแตกร้าวโป่งพองขึ้น แม้แก้ไขโดยการเลาะปูนฉาบและคอนกรีตหุ้มออกขัดสนิม เดิมออก ทาน้ำยากันสนิมก่อนฉาบด้วยปูน Non Shrink ก็ยังเป็นอีก
วิธีการแก้ไข
การแก้ไขที่สามารถยืดอายุการใช้งานอาคารต่อไปได้โดยเสียค่าใช้จ่ายไม่มากเกินไปทำดังนี้
- เลาะปูนฉาบและคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมออกจนถึงเนื้อเหล็กเสริม
- หากสภาพของเสาหรือเหล็กเสริมชำรุดมาก อาจต้องทำค้ำยันคานพื้นชั้นบนด้วย หากเสามีผนังก่อชน หรือ วงกบประตู ประกบ ต้องเลาะปูนหุ้มเสาออกโดยรอบทั้ง 4 ด้านด้วย
ต่อจากนั้น นำเหล็กฉากมาประกบเหล็กเสริมเดิมทั้ง 4 ด้าน ด้านล่างที่ติดกับพื้น ต้องรื้อพื้นจนถึงเนื้อคอนกรีตพื้น แล้วเชื่อมเหล็กแผ่นเป็นฐานรองรับตรงตำแหน่งพื้น
3. ประกอบแบบหล่อปูน และ เทปูน Non Shrink ปิดทับทั้ง 4 ด้านของเสา
4. หลังจากบ่มคอนกรีตตามระยะเวลาแล้ว ถอดแบบหล่อออก ฉาบปูนเก็บงาน ทาสีให้เรียบร้อย