News

News

Ten Consultants Co., Ltd.

Ministerial Regulation Soil and Groundwater Contamination Control in Factory Area B.E. 2559 (2016) (Part2/4)

Section 3 For people’s safety and environmental quality protection and conservation, a factory operator shall carry out a soil and groundwater inspection and assure that their contamination levels are not exceeding the soil and groundwater contamination criteria. Section 4 A factory operator shall carry out the soil and groundwater inspection and shall keep the inspection […]

การบริหารจัดการงานวิศวกรรม สำหรับ สาธารณูปโภคหมู่บ้านจัดสรร และระบบประกอบอาคารอาคารชุด ตอน…การควบคุมการทำงานของระบบสาธารณูปโภคหมู่บ้าน

การควบคุมการทำงานของระบบสาธารณูปโภคหมู่บ้าน ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้านสามารถแบ่งลักษณะงานออกได้เป็นกลุ่มๆ ตามชนิดของแต่ละงานดังนี้ งานด้านวิศวกรรมโยธา และ โครงสร้าง งานในกลุ่มนี้ได้แก่งานถนน  รั้ว  อาคารต่างๆ  สิ่งปลูกสร้าง  ท่อระบายน้ำ  สระน้ำ  บ่อน้ำ  เป็นต้น  งานดูแลบำรุงรักษางานในส่วนนี้มักไม่ยุ่งยาก  สามารถตรวจสอบความเรียบร้อยได้ง่าย  และ โดยคนทั่วๆไป  แต่หากมีความเสียหายขนาดใหญ่เกิดขึ้น  การแก้ไขต้องใช้วิศวกรโยธา  หรือ  วิศวกรโครงสร้างมาดำเนินการออกแบบแก้ไข  หรือ คำนวณแนวทางการซ่อมแซม  และ บางครั้งต้องทำรายการคำนวณ และ แบบก่อสร้างเพื่อยื่นขออนุญาตต่อหน่วยงานท้องถิ่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตการก่อสร้าง งานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า  สื่อสาร  และ อิเล็คทรอนิค งานในกลุ่มนี้ได้แก่  งานระบบไฟฟ้าแสงสว่าง  ระบบไฟฟ้าประดับ  ระบบไฟฟ้าควบคุมสำหรับอุปกรณ์ต่าง เช่น เครื่องสูบน้ำ  เครื่องปั่นไฟฟ้าสำรอง  ระบบไฟฟ้าสำหรับระบบสื่อสาร  ระบบไฟฟ้าสำหรับระบบอิเล็คทรอนิค  ระบบไฟฟ้าสำหรับใช้ภายในอาคารต่างๆ  ระบบโทรศัพท์ส่วนกลาง  ระบบสายสัญญาณอินเตอร์เน็ต  ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง  ระบบรักษาความปลอดภัยส่วนกลาง  ระบบสัญญาณเตือนภัย  ฯลฯ  งานในกลุ่มนี้ต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความเข้าใจด้านช่าง  มาควบคุมดูแล  การเดินระบบต่างๆ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ต้องมีผู้ควบคุมที่เปิดปิดอุปกรณ์  และ บำรุงรักษาตรวจสอบการทำงานในเวลาที่กำหนด  […]

การบริหารจัดการงานวิศวกรรม สำหรับ สาธารณูปโภคหมู่บ้านจัดสรร และระบบประกอบอาคาร อาคารชุด ตอน…แบบก่อสร้าง แบบสร้างจริง และ รายการประกอบแบบก่อสร้าง

แบบก่อสร้าง แบบสร้างจริง และ รายการประกอบแบบก่อสร้าง ในการก่อสร้างโครงการหมู่บ้านจัดสรร หรือ อาคารชุดทุกโครงการจะต้องมีแบบก่อสร้าง ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ในการขออนุญาตก่อสร้าง ขออนุญาตจดทะเบียนโครงการกับกรมที่ดิน ใช้ในการประเมินราคางบประมาณโครงการ ใช้ในการจัดประมูลก่อสร้างกับผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการ ใช้ในการก่อสร้างและดำเนินการโครงการ เมื่อก่อสร้างเสร็จจะมีการจัดทำแบบสร้างจริง ซึ่งอาจแตกต่างไปบ้างจากแบบก่อสร้าง และ ช่วงหลังจากการก่อสร้างเสร็จแล้ว  แบบก่อสร้างนี้จะใช้ในการเดินระบบ  บำรุงรักษา และ ซ่อมบำรุงตลอดอายุการใช้งานของโครงการ   สำหรับรายการประกอบแบบก่อสร้างคือข้อกำหนดที่เรียกว่า specification  รายการประกอบแบบก่อสร้างนี้เป็นรายการที่กำหนดคุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการใช้งานของรายการต่างๆที่ปรากฏอยู่ในแบบก่อสร้าง ผู้ประกอบการหมู่บ้านจัดสรร และ อาคารชุด จะต้องทำการว่าจ้างสถาปนิก และ วิศวกรสาขาต่างๆ หรืออาจเป็นสถาปนิก หรือวิศวกร ภายในของแต่ละบริษัทผู้ประกอบการเอง  ดำเนินการออกแบบโครงการนั้นๆขึ้น  เริ่มตั้งแต่การจัดวางผังโครงการ การจัดรูปแบบการแบ่งพื้นที่ใช้สอย และ พื้นที่ขาย การแบ่งแปลงที่ดินสำหรับโครงการหมู่บ้านจัดสรร การจัดรูปแบบผังอาคาร  การออกแบบงานทางด้านวิศวกรรมสาขาต่างๆ  ซึ่งกลุ่มผู้ออกแบบโครงการจะต้องปรับปรุงแบบก่อสร้างให้เป็นที่พอใจของผู้ประกอบการหรือเจ้าของโครงการ  จนเมื่อแบบก่อสร้างเป็นที่ลงตัวแล้ว  แบบก่อสร้างนี้จะถูกใช้งานต่อไปในกระบวนการต่างๆ ดังที่กล่างข้างต้น ในการบริหารงานโครงการหมู่บ้านจัดสรร  โดยทั่วไปจะพบว่าในการส่งและรับมอบเอกสารของนิติบุคคลจากผู้ประกอบการ  มักได้รับมอบแบบก่อสร้างไม่ครบถ้วนสมบูรณ์  บ้างก็ไม่มีแบบสร้างจริง  บ้างก็ไม่มีรายการประกอบแบบ  ที่แย่ไปกว่านั้นคือไม่มีแม้แต่แบบก่อสร้าง  การที่ฝ่ายนิติบุคคลไม่ได้รับมอบแบบก่อสร้าง  และ รายการประกอบแบบที่สมบูรณ์  […]

การซ่อมดินใต้บ้านทรุดจนเกิดโพรง

บ้าน ที่ปลูกสร้างมานาน  มีเป็นจำนวนมากที่เกิดดินใต้พื้นบ้าน  รั้ว  และบริเวณทางเดินรอบๆบ้านเกิดการทรุดตัว  ทำให้เกิดช่องว่าง  หรือ โพรงระหว่างคานคอดิน  กับ  พื้นดินรอบบ้าน   เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะบ้านหรืออาคารส่วนใหญ่ปลูกสร้างบนเสาเข็ม  ดังนั้นน้ำหนักตัวอาคารจึงถ่ายแรงลงเสาเข็มสู่ชั้นดินแข็งเบื้องล่าง  แต่พื้นดินใต้ตัวบ้านและรอบๆบ้าน  จะไม่ได้เป็นอย่างนั้น  เมื่อเวลาผ่านไป   พื้นดินจะเกิดการทรุดตัว  ทำให้เกิดโพรงช่องว่างขึ้น  ลักษณะเช่นนี้  นอกจากความไม่สวยงามเรียบร้อยแล้ว  ยังเป็นเหตุให้มีสัตว์ต่างๆอันไม่พึงประสงค์  เข้ามาทำเป็นที่อยู่อาศัย และ ติดตามกันมาเป็นแหล่งอาหาร  และ ถ่ายมูลทิ้งไว้  เช่น แมลงสาป  และ แมลงชนิดต่างๆ หนู  งู  ตะกวด  ฯลฯ  บ่อยครั้งที่สัตว์เหล่านั้นมาตาย  สร้างกลิ่นเหม็นเน่า  และ เพาะเชื้อโรคให้แก่ผู้อยู่อาศัยและสัตว์เลี้ยงด้วย การซ่อมแซมโดยการถมดินอุดโพรง  หรือ ช่องว่าง  อาจแก้ปัญหาได้ชั่วคราว  เมื่อดินทรุดตัวต่อไปอีก  จะทำให้เกิดช่องว่างหรือโพรงขึ้นมาใหม่   การซ่อมแซมที่ใช้ได้ผลดีกว่า  และ  ยืดอายุนานกว่า  สามารถทำได้โดยใช้แผ่นพื้นสำเร็จความยาวของแผ่น ประมาณ 1 เมตร  กว้าง ประมาณ 30 เซ็นติเมตร หนา […]

การบริหารจัดการงานวิศวกรรม สำหรับ สาธารณูปโภคหมู่บ้านจัดสรร และระบบประกอบอาคารอาคารชุด ตอน…ลักษณะทั่วไปของสาธารณูปโภคหมู่บ้านจัดสรร

ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรร และ อาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ได้มีกฏหมายขึ้นมารองรับการควบคุมดูแลสาธาณูปโภคส่วนกลาง และ ระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลขึ้น จากสมาชิกของหมู่บ้านจัดสรรนั้นๆ หรือ สมาชิกของอาคารชุดนั้นๆ นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นจะทำหน้าที่บริหารการควบคุมดูแลสาธาณูปโภคส่วนกลาง และ ระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร โดยเก็บค่าบริหารงานจากสมาชิกในรูปของค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เพื่อมาใช้ในการบริหารจ้ดการทุก ๆ กิจกรรมของนิติบุคคล การบริหารจัดการงานวิศวกรรม เป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญของการบริหารนิติบุคคล นอกเหนือจากการบริหารในด้านสำนักงาน การบัญชี การเงิน ความปลอดภัย ความสะอาด สุนทรียภาพ และกิจกรรมต่างๆ โดยที่การควบคุมดูแลสาธาณูปโภคส่วนกลาง และ ระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร ที่ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนจากการใช้สาธารณูปโภคส่วนกลาง รวมทั้งสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และคุ้มค่ากับการลงทุน ลักษณะทั่วไปของสาธารณูปโภคหมู่บ้านจัดสรร หมู่บ้านจัดสรรโดยทั่วไปจะมีการจัดสร้างสาธารณูปโภคส่วนกลาง และ ส่วนประกอบบางรายการ ซึ่งอาจเรียกว่าบริการสาธารณะ  บางรายการจำเป็นต้องมี  ขึ้นอยู่กับขนาดของหมู่บ้านจัดสรรซึ่งกฏหมายกำหนดให้ต้องมี  ส่วนบางรายการอาจเป็นส่วนพิเศษเพิ่มเติมสำหรับแต่ละหมู่บ้านเพื่อความสะดวกสบาย  หรือความสวยงามของหมู่บ้าน  รายการต่อไปนี้สามารถจัดได้ว่าเป็นสาธารณูปโภคส่วนกลางมีดังนี้ ถนน และ ทางเท้าภายในโครงการ ท่อระบายน้ำฝน และ ระบบป้องกันน้ำท่วม ท่อระบายน้ำเสีย และ ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง รั้วโครงการ ท่อน้ำประปาสำหรับส่วนกลาง […]

ซ่อมเสาบ้านแตกร้าว

บ้านเก่าที่ปลูกสร้างมานาน   มักเกิดปัญหาการแตกร้าวของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก  บริเวณโคนเสาใกล้กับพื้น  สาเหตุมักเกิดจากการที่ความชื้นภายในดินใต้ฐานรากเสาซึมเข้าไปในคอนกรีตฐานราก  ทำให้เหล็กเสริมภายในเสาคอนกรีตเกิดสนิม  และสนิมดันคอนกรีตและปูนฉาบหุ้มเหล็กเสริมนั้นแตกร้าวโป่งพองขึ้น  แม้แก้ไขโดยการเลาะปูนฉาบและคอนกรีตหุ้มออกขัดสนิม เดิมออก  ทาน้ำยากันสนิมก่อนฉาบด้วยปูน Non Shrink ก็ยังเป็นอีก วิธีการแก้ไข การแก้ไขที่สามารถยืดอายุการใช้งานอาคารต่อไปได้โดยเสียค่าใช้จ่ายไม่มากเกินไปทำดังนี้ เลาะปูนฉาบและคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมออกจนถึงเนื้อเหล็กเสริม หากสภาพของเสาหรือเหล็กเสริมชำรุดมาก อาจต้องทำค้ำยันคานพื้นชั้นบนด้วย หากเสามีผนังก่อชน หรือ วงกบประตู ประกบ ต้องเลาะปูนหุ้มเสาออกโดยรอบทั้ง 4 ด้านด้วยต่อจากนั้น นำเหล็กฉากมาประกบเหล็กเสริมเดิมทั้ง 4 ด้าน ด้านล่างที่ติดกับพื้น ต้องรื้อพื้นจนถึงเนื้อคอนกรีตพื้น แล้วเชื่อมเหล็กแผ่นเป็นฐานรองรับตรงตำแหน่งพื้น 3. ประกอบแบบหล่อปูน และ เทปูน Non Shrink ปิดทับทั้ง 4 ด้านของเสา 4. หลังจากบ่มคอนกรีตตามระยะเวลาแล้ว ถอดแบบหล่อออก ฉาบปูนเก็บงาน ทาสีให้เรียบร้อย

การจัดการน้ำภายในศูนย์วิปัสสนาฯ

บริษัท เท็น คอนซัลแตนส์ จำกัด ได้มีโอกาสศึกษาและสำรวจพื้นที่ภายในของ ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธฯ สวนประไพธรรม ชุมพร (ศูนย์ 3) พบว่าตำแหน่งที่ตั้งมักจะมีพายุพัดผ่านตลอดในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน ถึง ธันวาคม) ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมภายในพื้นที่ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธฯ สวนประไพธรรม พบว่ามีปัญหาเรื่องการจัดการน้ำภายในพื้นที่ และเร่งระบายน้ำฝนที่มาจากเขา ระบบบำบัดน้ำเสียรวมที่จะได้ผลกระทบเมื่อเกิดน้ำท่วม และเมื่อถึงฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม) พบว่ามีปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อระบบนิเวศภายในศูนย์วิปัสสนายุวพุทธฯ บริษัท เท็น คอนซัลแตนส์ จำกัด จึงได้ออกแบบปรับปรุงระบบระบายน้ำและการจัดการน้ำภายใน การกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และการเร่งระบายน้ำเมื่อเกิดมีพายุพัดผ่านศูนย์วิปัสสนายุวพุทธฯ สวนประไพธรรม

Solar Cell

พลังงานแสงอาทิตย์ – พลังงานสะอาด กับของเสียหลังการใช้งาน ในยุคนี้สามารถสร้างแผงโซล่าร์เซลที่ราคาต่ำลงมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าถูกลง แต่ต้นทุนที่สำคัญอีก 3 อย่างคือ ตัวแปลงกระแสตรงเป็นกระแสสลับ (Inverter) ตัวเก็บประจุไฟฟ้า – แบตเตอรี่ และ ค่าบำรุงรักษาระบบโดยรวม ทั้ง 3 รายการหลังนี้ เป็นค่าใช้จ่ายที่จัดได้ว่าสูง เมื่อเทียบต่อหน่วยผลิต ในแง่ของประสิทธิภาพของระบบในปัจจุบัน หากเป็นการต่อใช้โดยตรง ค่าความสูญเสีย (Lost) ก็น้อยหน่อย แต่หากต้องเก็บเข้าแบตเตอรี่ แล้วนำกลับมาใช้ โดยแปลงเป็นกระแสสลับ (ที่ใช้ตามบ้าน) ค่าความสูญเสียจะเพิ่มสูงมาก เพราะการทำงานคือการ ใส่ประจุไฟฟ้าลงไปในแบตเตอรี่ ที่มีแผงตะกั่วแช่ในน้ำกรด (แบตเตอรี่รุ่นใหม่ ที่พัฒนาไปเรียกเป็นแบบแห้ง หลักการก็ไม่ต่างไปมาก) เมื่อต้องการก็เร่งปฏิกิริยาเคมี เกิดประจุกระแสไฟฟ้านำพลังงานไฟฟ้ากลับออกมาใช้ กระบวนการนี้เกิดความสูญเสีย (Efficiency lost) มาก ระบบที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า 65-70% ทำได้ยาก นั่นคือผลิตได้ 100 หน่วย เอากลับมาใช้ได้ไม่ถึง 70 หน่วย ในแง่ของความสะอาดของขบวนการผลิตพลังงาน ถ้านับจากจุดแผงโซล่าร์โดนแสงอาทิตย์ไป ก็นับว่าสะอาด […]

1 2